วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

วัน อังคาร ที่  21  ตุลาคม  พ.ศ. 2557

  เนื้อหา/กิจกกรรมการเรียนวันนี้ อาจารย์สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้ง 3 ด้าน คือ
  •  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  •  เด็กสมาธิสั้น 
  • เด็กพิการซ้อน 
เเล้วให้นักศึกษาดูเอกสารประกอบพร้อมกับฟังคำบรรยายเนื้อหาของอาจารย์ จากนั้นให้นักศึกษาดูคลิปเด็กพิเศษของสถาบันราชนุกูล และคลิปการดูเเลเด็กพิเศษของมหาวิยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เเละอาจารย์ได้เล่าพร้อมเเสดงลักษณะท่าทางพฤติกรรมของเด็กพิเศษจากประสบการณ์ที่เคยกับเห็นให้นักศึกษาได้ดูและฟัง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น


สรุปองค์ความรู้ในวันนี้



สัตว์โลกน่ารัก
( Children with Behavioral and Emotional Disorders )


 เด็กที่มีบกพร่องทางด้านนี้จะมีการควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ เเสดงออกถึงการทำร้ายตัวเอง  มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
** เด็กประเภทนี้ชอบทำร้ายตัวเองและผู้อื่นรุนเเรงกว่าเด็กออทิสติก ซึ่งเด็กปฐมวัยประมาณ 60% มักเป็นเด็กเเบบนี้ **
( Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders )

  ADHD เป็นเด็กที่มีภาวะผิดปกติทางจิตเวช ที่มีลักษณะเด่นอยู่ ประการคือ 
- Inattentiveness สมาธิสั้น เป็นเด็กที่ไม่ค่อยมีสมาธิ ทำอะไรนานๆไม่ค่อยได้ เเต่สามารถทำงานเสร็จเป็นขั้นตอน
-Hyperactivity  ซนไม่อยู่นิ่ง หรือเรียกอีกอย่างว่า เด็กไฮเปอร์  เด็กประเภทนี้จะชอบเคลื่อนไหว ชอบปีนป่าย นั่งไม่ติดที่ นั่งไม่อยู่สุขยุกยิกตลอด ชอบเเกล้งชอบคุยส่งเสียงรบกวนคนรอบข้างหรือคนอื่นตลอดเวลา
-Impulsiveness หุนหันพลันแล่น ขาดการยับยั้งชั่งใจ ไม่มีความอดทนต่อการรอคอย ทำอะไรค่อนข้างรุนเเรง ไม่ชอบคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ วู่วาม ใจร้อน เป็นต้น
Children with Multiple Handicaps )

เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ เช่น เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียต่อการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด หรือเด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด เป็นต้น

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดกิจกรรมที่ช่วยลดพฤติกรรมเด็กที่อยู่ไม่นิ่ง โดยการหากิจกรรมมาให้เด็กได้เล่น หรือลงมือกระทำด้วยตัวเอง เพื่อฝึกความอดทนและฝึกสมาธิในการทำงานของเด็ก
  2. การฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเอง 
  3. จัดกิจกกรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง เช่น การเคลื่อนที่ช้าๆ  การเดินทรงตัว การประดิษฐ์ผลงานหรือวาดภาพระบายสีตามจินตนาการ เป็นต้น
  4. การปรับพฤติกรรมหรือทัศนคติของเด็ก จากความกลัว ความซึมเศร้าของเด็ก โดยหากิจกรรมต่างๆให้เด็กได้ลงมือทำ แล้วให้คำชมเชยเมื่อได้เด็กทำได้ เพื่อเป็นการเสริมเเรงหรือกำลังใจกับเด็ก
  5. การให้ความรู้หรือคำเเนะนำกับพ่อเเม่ในการดูแลเด็กพิเศษ 
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและตั้งใจดูวีดีโอที่อาจารย์นำมาเปิดให้ดูพร้อมจดบันทึกเนื้อหา ความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากชีสที่อาจารย์ให้
  • ประเมินเพื่อน:เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ  เพื่อนๆตั้งใจเรียนเเละจดบันทึกเนื้อหาความรู้
  • ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ  อาจารย์มีเทคนิคในการสอน โดยยกตัวอย่างประสบการณ์จริงมาถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษา  

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8

วัน อังคาร  ที่  14  ตุลาคม  พ. ศ. 2557



 บทเรียนวันนี้ อาจารย์สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และเด็กออทิสติก โดยให้นักศึกษาดูเอกสารประกอบการสอนและฟังอาจารย์บรรยายเนื้อหาความรู้หรือฟังประสบการณ์ลักษณะของเด็กพิเศษที่อาจารย์เคยพบ ซึ่งเด็กพิเศษเเต่ละคนจะมีลักษณะความบกพร่องไม่เหมือนกัน แล้วอาจารย์ก็ให้ดูวีดีโอเพิ่มเติม


 สรุปความรู้ที่ได้รับ 



เด็กที่ปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่างที่มีหลายๆด้านในระดับอาการที่เเตกต่างกันไป เช่น ด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณ และหลายๆด้านร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งจะต้องให้การช่วยเหลือเเละดูเเลเด็กในการรักษาเพื่อเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก การเรียนรู้ และการรับรู้พัฒนาการทางสมอง และการใช้ภาษาในการสื่อสาร และการฝึกใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
หรือ เรียกอีกอย่างว่า ออทิซึ่ม ( Autism )  เป็นเด็กที่ไม่ชอบอยู่กับใคร ไม่สนใจใคร ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ชอบไปหาใครเพื่อปลอบใจ ชอบเคลื่อนไหวเเบบซ้ำๆ ทำท่าเดิมๆ 
 ตย.เช่น ทุกวันตอนเที่ยงน้องจะเดินวนรอบห้องประมาณ 1 ชั่วโมง เเล้วน้องจึงมานอน
และเด็กออทิสติกจะมีความบกพร่องมากทางด้านภาษา และสังคม 
คำนิยามเด็กออทิสติก " ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว "


  การนำไปประยุกต์ใช้ 

1. ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีพัฒนาการที่ดี และฝึกให้เด็กหัดช่วยเหลือตนเอง
2. พ่อเเม่ หรือ ผู้ใกล้ชิด ค่อยให้กำลังใจ ให้คำชมเชยกับเด็กเมื่อเด็กทำได้ 
3. การจัดกิจกรรมต่างๆ มาจัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเอง
4. ฝึกการพูด การใช้ภาษา โดยการพูดคุยสื่อสาร หรือเล่านิทานให้เด็กฟัง
5. สามารถฝึกการสังเกตดูว่าเด็กที่เป็นออทิสติกมากหรือน้อย โดยดูจากระยะห่างระหว่างความบกพร่องทางด้านภาษา , สังคม  กับ ความสามารถด้านการเคลื่อนไหว , การรับรู้รูปทรงขนาดและพื้นที่
เช่น ถ้าเด็กออทิสติกมีความบกพร่องทางภาษา , สังคม ต่ำกว่า ความสามารถด้านการเคลื่อนไหว , การรับรู้รูปทรงขนาดและพื้นที่ เเสดงว่า เด็กออทิสติกจะที่ความบกพร่องมาก
6. ฝึกการสอนให้เด็กรู้จักหัดอ่าน หัดเขียน และหัดการคิดคำนวณ 
7. ควรให้ความรู้หรือชี้เเนะเเนวทางให้ผู้ปกครองเรียนรู้ถึงพัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็กพิเศษ

 การประเมินผล  
  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและชอบดูวีดีโอที่อาจารย์นำมาเปิดให้ดู ชอบฟังอาจารย์ยกตัวอย่างการเล่าประสบการณ์เดิมของอาจารย์ และรู้สึกถึงความรักของพ่อเเม่ที่มีให้ลูกย่างเข้มเเข็ง จดบันทึกรายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเติม
  • ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ  เพื่อนๆตั้งใจเรียนเเละจดบันทึกเนื้อหาความรู้ และให้ความร่วมมือในการเเสดงบทบาทสมมติ โดยมีเพื่อนออกไปเเสดงเป็นเด็กออทิสติกหน้าชั้นเรียน เพื่อให้เพื่อนๆได้เข้าใจลักษณะนิสัยของเด็กออทิสติกมากยิ่งขึ้น
    • ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ  อาจารย์มีเทคนิคในการสอน โดยยกตัวอย่างประสบการณ์จริงมาถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษา  และการเเสดงเลียนแบบพฤติกรรมลักษณะนิสัยของเด็กพิเศษที่เเตกต่างกันให้ดู พร้อมให้ดูวีดีโอเด็กที่มีลักษณะพฤติกรรมที่ทำอะไรซ้ำๆ 


    วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7


    บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่ 7

    วัน  อังคาร  ที่  30  กันยายน  พ.ศ. 2557

     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เเต่อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรม  เรื่อง "จิตอาสาตามเเนวคิดเศรษฐ์กิจพอเพียง"
    ซึ่งเชิญ คุณปอ ทฤษฎี  สหวงค์  มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับจิตอาสาเเก่สาขาการศึกษาปฐมวัย ณมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม





    ภาพบรรยายกาศในการเข้าร่วมกิจกรรม






    ภาพประทับใจในสาขาการศึกษาปฐมวัย




    ความรู้ที่ได้รับ 


                   "จิตอาสา"  เป็นการหยิบยื่นสิ่งดีดีให้ผู้อื่น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้
    จะทำให้เรามีความสุขมากกว่าการเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียว การมีจิตอาสาควรปลูกฝัง ตั้งแต่เด็กๆ  

    ซึ่งครูผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่นักเรียน  มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และส่วนรวมช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน หรือแม้กระทั่งสัตว์ เพราะสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ มีความรัก ความเมตตา การลงมือกกระทำประโยชน์จากจุดเล็กๆที่เริ่มจากตัวเอง และผู้อื่นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคม และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า 
     การนำไปประยุกต์ใช้ 

    1. การมีจิตอาสา เป็นทำความดีอย่างหนึ่งที่เราสามารถช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน
    2. การมีจิตอาสาควรปลูกฝังตั้งเเต่เด็กๆ ค่อยสอนและชี้เเนะให้เด็กเริ่ม
    รู้จักช่วยเหลือผู้อืน รู้จักประหยัด อดออม เเละใช้จ่ายอย่รู้คุณค่า

    3. การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง คือการเดินทางสายกลาง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน