วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

วัน อังคาร ที่  21  ตุลาคม  พ.ศ. 2557

  เนื้อหา/กิจกกรรมการเรียนวันนี้ อาจารย์สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้ง 3 ด้าน คือ
  •  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  •  เด็กสมาธิสั้น 
  • เด็กพิการซ้อน 
เเล้วให้นักศึกษาดูเอกสารประกอบพร้อมกับฟังคำบรรยายเนื้อหาของอาจารย์ จากนั้นให้นักศึกษาดูคลิปเด็กพิเศษของสถาบันราชนุกูล และคลิปการดูเเลเด็กพิเศษของมหาวิยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เเละอาจารย์ได้เล่าพร้อมเเสดงลักษณะท่าทางพฤติกรรมของเด็กพิเศษจากประสบการณ์ที่เคยกับเห็นให้นักศึกษาได้ดูและฟัง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น


สรุปองค์ความรู้ในวันนี้



สัตว์โลกน่ารัก
( Children with Behavioral and Emotional Disorders )


 เด็กที่มีบกพร่องทางด้านนี้จะมีการควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ เเสดงออกถึงการทำร้ายตัวเอง  มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
** เด็กประเภทนี้ชอบทำร้ายตัวเองและผู้อื่นรุนเเรงกว่าเด็กออทิสติก ซึ่งเด็กปฐมวัยประมาณ 60% มักเป็นเด็กเเบบนี้ **
( Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders )

  ADHD เป็นเด็กที่มีภาวะผิดปกติทางจิตเวช ที่มีลักษณะเด่นอยู่ ประการคือ 
- Inattentiveness สมาธิสั้น เป็นเด็กที่ไม่ค่อยมีสมาธิ ทำอะไรนานๆไม่ค่อยได้ เเต่สามารถทำงานเสร็จเป็นขั้นตอน
-Hyperactivity  ซนไม่อยู่นิ่ง หรือเรียกอีกอย่างว่า เด็กไฮเปอร์  เด็กประเภทนี้จะชอบเคลื่อนไหว ชอบปีนป่าย นั่งไม่ติดที่ นั่งไม่อยู่สุขยุกยิกตลอด ชอบเเกล้งชอบคุยส่งเสียงรบกวนคนรอบข้างหรือคนอื่นตลอดเวลา
-Impulsiveness หุนหันพลันแล่น ขาดการยับยั้งชั่งใจ ไม่มีความอดทนต่อการรอคอย ทำอะไรค่อนข้างรุนเเรง ไม่ชอบคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ วู่วาม ใจร้อน เป็นต้น
Children with Multiple Handicaps )

เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ เช่น เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียต่อการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด หรือเด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด เป็นต้น

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดกิจกรรมที่ช่วยลดพฤติกรรมเด็กที่อยู่ไม่นิ่ง โดยการหากิจกรรมมาให้เด็กได้เล่น หรือลงมือกระทำด้วยตัวเอง เพื่อฝึกความอดทนและฝึกสมาธิในการทำงานของเด็ก
  2. การฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเอง 
  3. จัดกิจกกรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง เช่น การเคลื่อนที่ช้าๆ  การเดินทรงตัว การประดิษฐ์ผลงานหรือวาดภาพระบายสีตามจินตนาการ เป็นต้น
  4. การปรับพฤติกรรมหรือทัศนคติของเด็ก จากความกลัว ความซึมเศร้าของเด็ก โดยหากิจกรรมต่างๆให้เด็กได้ลงมือทำ แล้วให้คำชมเชยเมื่อได้เด็กทำได้ เพื่อเป็นการเสริมเเรงหรือกำลังใจกับเด็ก
  5. การให้ความรู้หรือคำเเนะนำกับพ่อเเม่ในการดูแลเด็กพิเศษ 
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและตั้งใจดูวีดีโอที่อาจารย์นำมาเปิดให้ดูพร้อมจดบันทึกเนื้อหา ความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากชีสที่อาจารย์ให้
  • ประเมินเพื่อน:เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ  เพื่อนๆตั้งใจเรียนเเละจดบันทึกเนื้อหาความรู้
  • ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ  อาจารย์มีเทคนิคในการสอน โดยยกตัวอย่างประสบการณ์จริงมาถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษา  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น